การวิเคราะห์ในกรอบเวลาที่หลากหลาย Multiple Timeframe Analysis Smart Money Concept
https://www.tradingguideline.com/2024/03/multiple-timeframe-analysis-smart-money.html
การวิเคราะห์ในกรอบเวลาที่หลากหลาย Multiple Timeframe Analysis
โครงสร้างของตลาดและเศษส่วนเมื่อเราไปที่ lower time frame นี่อาจมีแนวโน้มหลายอย่างในตลาดเดียวกันเมื่อเรา Zoom In จาก Timeframe ใหญ่เข้าไปดูโครงสร้างใน Time Frame ย่อย
การวิเคราะห์ในหลายกรอบเวลาช่วยให้เรามองเห็นตลาดเดียวกันแตกต่างไปตามกรอบของเวลา ใน Higher Timeframe จะสร้างแนวโน้มและใน Lower Timeframe มักใช้ในการเข้าสู่การเทรดได้ดี
กรอบเวลาที่ใหญ่ Higher Timeframe จะเป็นการกำหนดแนวโน้มในขณะที่การกลับตัวของแนวโน้มเริ่มต้นจากกรอบเวลาที่ต่ํากว่า Lower Timeframe ซึ่งจะส่งผลไปสู่การสร้างการกลับตัวของกรอบเวลาที่สูงขึ้น
การวิเคราะห์ Multi-time frame คือกระบวนการวิเคราะห์กราฟในหลายกรอบเวลา โดยสามารถใช้สัดส่วนที่ 1:4 หรือ 1 : 6 เมื่อเราสลับระหว่ากรอบของเวลา นี่สามารถช่วยเราในการครอบคลุมการเคลื่อนไหวของราคาที่เล็กน้อยและได้รับจุดของการเข้าเทรดที่ดีในตลาด ตัวอย่างเช่น เมื่อวิเคราะห์ตลาดในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง เราสามารถสลับไปเป็น กรอบเวลา 10 นาที (1:6) หรือเมื่อวิเคราะห์แผนภูมิในกราฟรายวันเราสามารถสลับไปใช้เป็นแผนภูมิกราฟราย 4 ชั่วโมง (1:6) สำหรับการหาจุดเข้าเทรดที่ดี
ในรูปที่ 24 แสดงสัดส่วนที่เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นในตลาด เราสามารถมองเห็นตลาดนี้เป็นขาขึ้นในกรอบเวลา 1 เดือน Time Frame Monthly สร้าง Higher Highs (HH) และ Higher Low (HL) แต่เมื่อเรา zoom in เข้าไปดูในกรอบเวลาที่เป็น Lower Timeframe หรือกรอบเวลาที่เล็กกว่า ในกรอบเวลา 1 วัน Time Frame Daily เราก็จะเห็นการทำลายโครงสร้างของตลาด Market Breaking Structure มากกว่าในกรอบเวลาเล็กและการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มหลายครั้ง
ในกรอบเวลาใหญ่ Monthly Timeframe ที่อยู่บนสุดของแผนภูมิคือโครงสร้างของตลาดในกรอบเวลาใหญ่สุด Higher Timeframe Structure และเป็นแนวโน้มขาขึ้นที่ครอบคลุมโครงสร้างตลาด ขณะที่ Daily และ Hourly timeframe โครงสร้างของตลาดจะเป็นไปตามแนวโน้มขาขึ้นของกรอบเวลาใหญ่ Monthly Timeframe Structure
เทรดเดอร์ควรทำงานในกรอบเวลาที่ต่ำกว่า (Lower Timeframe) ของโครงสร้างในตลาด เนื่องจากสามารถช่วยในเรื่องของเวลาและทำกำไรได้มาก แต่ก็ควรพิจารณาแนวโน้มของตลาดในกรอบเวลาที่สูงกว่า (Higher Timeframe) ไปด้วยพร้อมกัน
ในรูปที่ 25-27 เราจะเห็นว่าในกราฟแผนภูมิ EUR/USD ในกรอบเวลารายเดือนเป็นขาลงในขณะที่แผนภูมิรายวันเป็นขาขึ้นและแผนภูมิรายช่วยโมงเป็นขาลง ลักษณะเศษส่วนของตลาดเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อไปต่อในกรอบของเวลาที่ต่ำกว่าซึ่งค่อนข้างจะเกิดสัญญารบกวนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญมากที่เราจะต้องวิเคราะห์ในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าก่อนเสมอ
การวิเคราะห์ตลาดในกรอบเวลาที่ต่ําลงจะช่วยให้ได้รับการยืนยันที่ดีสําหรับแนวโน้มที่สูงขึ้นทําให้เราได้รับผลกําไรที่ดีด้วยการหยุดการขาดทุนที่รัดกุมยิ่งขึ้น